วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

...คำอธิบายรายวิชา"...
.....ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสาระสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม


วัตถุประสงค์ในรายวิชา
.....เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
3. ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6. บอกความหมายและองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้
7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10. บอกความสัมพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่างๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14. สร้างเทคโนโลยีสารสนเทศเำพื่อการเรียนการสอนได้
15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั้วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้


ความซื่อสัตย์สุจริต
ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง มีความซื่อตรง มั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ



“ ความซื่อสัตย์ ( Integrity ) ” ในการทำงาน .... สำคัญไฉน
          ก่อนอื่นต้องถามตัวคุณเองก่อนว่า คุณมีความซื่อสัตย์ ( Integrity) ในการทำงานมากน้อยแค่ไหน และแน่นอนว่าคงจะไม่มีใครตอบว่าตนเองไม่มีความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและเป็นที่ต้องการในทุกองค์การ ซึ่งความซื่อสัตย์นอกจากจะหมายถึงการ รักษาความลับ ผลประโยชน์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ของบริษัทแล้ว ความซื่อสัตย์ยังหมายรวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนจากความเป็นจริง และการปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎของบริษัท และยังพบว่าอีกว่ามีหลายองค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) หรือคุณค่าร่วม ( Core Value) ที่เกี่ยวข้องกับความคิดความเชื่อที่อยากให้พนักงานทุกคนปฏิบัติ
         แล้วทำไมคุณจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ..... ความซื่อสัตย์ในการทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) ของตัวคุณเองที่คนอื่นมองหรือรับรู้ในตัวคุณว่าเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานและองค์การของคุณเอง ทั้งนี้คุณลักษณะของความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญและส่งผลต่อตัวคุณและต่อหน่วยงานหรือองค์การของคุณ ขอสรุปได้ดังต่อไปนี้
          1. การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน
          2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
          3. สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน     ( Performance) และมูลค่าเพิ่ม ( Added Value) ของตัวคุณเอง
          4. รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง
          มาถึงคำถามที่ว่า หากจะวัดหรือประเมินความซื่อสัตย์ได้อย่างไร เช่น หากถามว่านาย ก มีความซื่อสัตย์มากกว่านาย ข นั้น เราจะพิจารณาหรือประเมินได้จากอะไรได้บ้าง และเพื่อทำให้องค์การสามารถประเมินหรือวัดความซื่อสัตย์ได้ จึงทำให้องค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถอย่างหนึ่ง ( Competency) ซึ่งสามารถกำหนดได้เป็นความสามารถหลัก ( Core Competency) ที่เป็นความสามารถหรือพฤติกรรมที่ใช้วัดหรือประเมินพนักงานสำหรับทุกคนและทุกตำแหน่งงาน นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป็นความสามารถในงาน ( Job Competency) ได้อีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมของความซื่อสัตย์นั้นสามารถกำหนดเป็นพฤติกรรมออกมาแยกเป็นระดับต่าง ๆ เพื่อใช้ประเมินผลและพัฒนาพนักงานได้

สำนวณความซื่อสัตย์
  • ไม้คดใช้ทำขอเหล็กงอใช้ทำเคียว แต่ คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
  • เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำที่สุจริต
  • ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถ มองเห็นคิ้วของตน
  • ผู้ไร้สัจจะ ถึงจะมีความสามารถก็ไร้ประโยชน์
  • ผู้สูญเสียความซื่อสัตย์ เหมือนสูญเสียแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง
  • โกหกเพียงครั้งเดียว ถูกสงสัยตลอดกาล
  • คนซื่อสัตย์พูดคำใดถือเป็นสัญญาคำนั้น
  • ของมีพิษห้ามกิน ของผิดกฎหมายห้ามทำ
  • กิจการทั้งมวล ความซื่อสัตย์สำคัญที่สุด
  • พิษที่เลวร้ายมีค่ามากกว่าเพื่อนเลวที่หักหลัง


    เทคนิคการเรียนให้เก่ง


    พูดถึงเรื่องเรียน ใครๆก็อยากเก่งกันทุกคน แต่คงมีหลายคน ที่อาจจะท้อแท้กับการเรียน นักวิชาการและนักวิจัยต่างๆ ได้ทำการสำรวจและวิจัย พบว่าเทคนิคการเรียนต่างๆจากหลายๆคนแตกต่างกันไป ก็เลยนำมาเสนอให้เพื่อนๆที่สนใจได้อ่านด้วย เราไปดูกันดีกว่าว่า การเรียน เก่ง 
    จาก การวิจัยและวิเคราะห์ของนักแนะแนวการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายคนพบว่า ผู้ที่เรียนไม่ค่อยประสบความสำเร็จหรือเรียนแบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ผู้ที่มีลักษณะดังนี้
    -เป็นคนที่มักละทิ้งงานไว้ก่อนก่อนจึงค่อยทำ เมื่อถึงนาทีสุดท้าย
    -เสียสมาธิ หันเห ความสนใจไปจากการเรียนได้โดยง่าย
    -เมื่อทำงานที่ยากๆ จะสูญเสียความสนใจ หรือขาดความมานะ พยายามนั่นเอง
    -มักใช้เรื่องของการสอบ เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียน
    -ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีตารางการทำงานอย่าวงสม่ำเสมอ
    -การเรียนที่มีประสิทธิภาพควรมีลักษณะดังนี้คือ
    -ควรมีตารางเรียนและทำงานตรงตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
    -ทำงานในระยะเวลาที่ไม่นานนักและควรมีการหยุดพักผ่อน
    -ไม่ปล่อยงานค้างไว้จนวินาทีสุดท้าย
    -ควรตั้งสมาธิให้แน่วแน่ ไม่เสียสมาธิง่าย
    -อย่าใช้การสอบเป็นนแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ
    -ควรอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนตามสมควร
    -เข้าฟังการบรรยาย สัมมนาแล้วควรกลับไปอ่านทบทวน
    -พยายามอย่าละเลยวิชาที่ยากกว่าวิชาอื่นๆ
    -ควรมีความรู้ในการใช้บริการห้องสมุดด้วยเป็นดี
    -ปรับปรุงคำบรรยาย ที่จดจากห้องเรียนให้กระชับ กะทัดรัดและเข้าใจง่าย
    -พยายามทำให้การเรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และสนุกสนานกับมัน
    -ควรมีแรงกระตุ้นกับมันและไม่ควรทำงานหนักเกินไปในวันหยุด
    -เมื่อพยายามปฏิบัติทุกข้ออย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เรียนได้ดี
    -จากการวิจัยเรื่องลักษณะการอ่านหนังสือหลายๆคนมักจะทำกันอย่างนี้
    -อ่านหนังสือเที่ยวนึงก่อน แล้วกลับมาอ่านซ้ำอีกที
    -ขีดเส้นใต้ใจความหลักและรายละเอียดที่สำคัญในตำรา
    -อ่านอย่างตั้งใจแล้วทำบันทึกเค้าโครงสั้นๆไว้ เพื่อประหยัดเวลาในการอ่านทบทวน
    ซึ่งนักวิเคราะห์สรุปว่า วิธีที่3ค่อนข้างจะดีกว่าข้ออื่นๆแต่การทำพร้อมๆกันทั้ง 3 วิธี เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการอ่านหนังสือเลยทีเดียว

    Thorndike กล่าวว่า ประสบการณ์ก่อให้เกิดความชำนาญ เขาใด้ตั้งกฎแห่งการเรียนไว้ 3 อย่างซึ่งพูดถึงการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น การตอบรับ การฝึกหัดเพื่อก่อให้ เกิดประสบการณ์ และการเตรียมความพร้อมในด้านการเรียน และเขายังมี ข้อแนะนำที่จะช่วยให้การเรียนได้ผลดีและรวดเร็ว คือ
    -พยายามสร้างความอยากที่จะเรียน (motivation)
    -พยายามตอบสนองต่อการเรียน (reaction) อย่างต่อเนื่อง
    -ควรมีความแน่วแน่กับการเรียน (concentrate)
    -จัดลำดับเรี่องที่จะเรียน (organization) ให้เป็นหมวดหมู่ก่อนหลัง ไม่ปะปนกัน
    -ควรมีความเข้าใจ (comprehension) ในจุดมุ่งหมายในเนื้อหาที่เรียน
    -มีการทบทวน (repettition) เพื่อเป็นการไม่ให้ลืม
    -เทคนิคการอ่านหนังสือ โดย อ.พรทิพย์ ศรีสุรักษ์
    -สำรวจเนื้อหาและส่วนประกอบต่างๆในเล่มทั้งหมด
    -อ่านเนื้อหาทั้งหมด แล้วอ่านซ้ำเพื่อจับ
    -ควรมีการตั้งคำถามกับตัวเองขณะอ่าน ว่าใคร ทำอะไร ที่ใหน เมื่อไหร่ อย่างไร
    -ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญจากนั้นบันทึกเป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย
    -พยายามจับประเด็นจากคำบรรยายและจากตำราให้เข้ากัน
    -ต้องมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

     แนะนำวิธีการอ่านหนังสือ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

10 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหายังน้อยไป แต่แบบ บล็อก น่าสนใจดี

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. น่ารักดีคร๊ญิ๋งนุช

    ตอบลบ
  4. ตกแต่งได้งามดีนะ มองสบายตา เนื้อหาใช้ได้ ภาพรวมดี

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาก็ดีพอสมควร แต่งบล็อกน่ารักม้ากมาก ชอบอ่ะ

    ตอบลบ
  6. บล็อกก็น่ารักดีน่ะดูใสใส เนื้อหาก็ ok ถือว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียว

    ตอบลบ
  7. บล้อกน่ารักมากครับ สีสันสดใส เหมือนเด็กๆ
    ตัวหนัวสือ ดุเด่นขึ้นทันที เพราะแากที่สวยงามสะท้อนออกมา ได้เป๊ะมาก

    ตอบลบ
  8. บล็อกน่ารักมากค่ะ มีความคิดสร้างสรรค์ดี สีสันสดใส เนื้อหาเยอะดี เต็มสิบค่ะ

    ตอบลบ